วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

คำอธิบายรายวิชา ส22101

คำอธิบายรายวิชา ส22101

ขี่อูฐที่อียิปต์

แบบฝึกทักษะกิจกรรมที่ 3 ส2.1 ม4/2

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1.การขัดเกลาทางสังคมมีความสำคัญอย่างไร จงวิเคราะห์ 2. โครงสร้างทางสังคมมีความสำคัญอย่างไร และสังคมที่มีความมั่นคงจะต้องมีโครงสร้างทางสังคมอย่างไร 3.การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร

แบบฝึกทักษะกิจกรรมที่ 2 ส2.1 ม4/2

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ 1. ให้นักเรียนวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของไทยในอดีตกับปัจจุบัน 2. ให้นักเรียนบอกแนวทางการพัฒนาสังคมไทย ตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10

แบบฝึกทักษะกิจกรรมที่ 1 ส2.1 ม4/2

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม 2. สังคมมนุษย์มีลักษณะสำคัญอย่างไร และประกอบด้วยอะไรบ้าง 3. โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่ละองค์ประกอบมีหน้าที่สำคัญอย่างไร 4. โครงสร้างของสังคมมีลักษระอย่างไร และวิถีการดำเนินชีวิตเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

คำอธิบายรายวิชาส31101

คำอธิบายรายวิชา ส 31101 สังคมศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ความสำคัญของโครงสร้างทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนาสังคม การปฏิบัติตนและมีส่วนสนับสนุนให้ผู้อื่นประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ วิเคราะห์ถึงความสำคัญ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและเลือกรับวัฒนธรรมสากล ศึกษาความหมาย ความสำคัญแนวคิดและหลักการของสิทธิมนุษยชน บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในเวทีโลกที่มีผลต่อประเทศไทย สาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบันเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน วิเคราะห์และประเมินสถานการรฦ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและเสนอแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนา ศึกษา วิเคราะห์ลักษณะสังคมชมพูทวีปและคติความเชื่อทางศาสนาสมัยก่อนพระพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุดในการตรัสรู้และก่อตั้งพระพุทธศาสนา วิธีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฏก หลักธรรมในกรอบอริยสัจ 4 ข้อปฏิบัติทางสายกลางและแนวคิดการพัฒนาศรัทธาและปัญญาทางพระพุทธศาสนา พุทธศาสนสุภาษิต โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการตรวจสอบ กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการเผชิญสถานการณ์ การสืบค้น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรมจริบยธรรมค่านิยมอันดีงาม ธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข มาตรฐาน ส 1.1 ตัวชี้วัด ม 4/ มาตรฐาน ส 1.2 ตัวชี้วัด ม 4/ มาตรฐาน ส 2.1 ตัวชี้วัด ม4/2 ม4/3 ม4/4 ม4/5